การสอนความรู้ที่ครูเป็นผู้ให้ด้วยความหวังดี แต่ผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญของสิ่งที่ครูให้แต่จำเป็นต้องรับความรู้นั้น ลักษณะนี้เปรียบเสมือนการกรอกความรู้ให้ผู้เรียน การสอนแบบนี้ผู้เรียนจะนั่งฟังครูหรือฟังและจดตามครูอย่างเดียว เมื่อผู้เรียนไม่เห็นความสำคัญรู้แต่ว่าจะต้องเรียน เป็นอย่างนี้นานเข้าๆจึงเคยชินกับการ รอรับความรู้จากครู เมื่อผู้เรียนคิดเช่นนั้นจึงขาดการฝึกแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง สังเกตได้จากครูสอนแค่ไหนผู้เรียนก็รู้แค่นั้นความรู้ไม่มีการต่อยอดเพราะสิ้นสุดแค่ในชั้นเรียน ผลจึงปรากฏว่ามีผู้เรียนหลายคนจบการศึกษาออกไปทำงานและได้เผชิญกับปัญหาจริง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ สำหรับหลักสูตรก็มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยจนเกินไป ไม่แน่นอนเนื้อหาไม่ชัดเจน มีการเพิ่มวิชาใหม่ๆเข้ามา ครูก็ไม่รู้แนวทางที่จะสอนนักเรียน บ้างโรงเรียนก็รับนักเรียนมากเกินไปห้องหนึ่งมีนักเรียนมากถึง 60 คน ต่อครู 1 คน เด็กก็อัดกันเรียนอยู่นั้นแหละ โต๊ะก็ไม่พอ ทำให้เรียนไม่สะดวก สุดท้ายก็ไม่เข้าใจที่ครูสอน ไม่มีสมาธิจนไม่อยากเรียนวิชานั้นๆเลย แล้วโรงเรียนไหนที่มีห้องเรียนพิเศษ เช่น AP EP เป็นต้น ก็จะใส่ใจกับห้องเหล่านั้นจนเกินไป โดยเฉพาะหมวดวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และมักจะเอาไปเปรียบเทียบกับห้องอื่นทำให้นักเรียนเกิดความเครียดจนมีความคิดว่าตัวเองไม่มีทางสู่เค้าได้ ก็เกิดความเบื่อที่จะเรียน ไม่รู้ทำไมระบบการศึกษาถึงต้องกำหนดให้มีการเรียนแบบนี้ จากที่เห็นตอนที่ไม่มีห้องเรียนพิเศษนักเรียนที่สอบเรียนต่อได้มีจำนวนมากกว่า ติดคณะที่ดีเยอะกว่าตอนที่มีห้องเรียนพิเศษ วิชาที่เรียนก็มากจนเกินไปมีเวลาเรียนไม่ถึงชั่วโมง เมื่อเปลี่ยนวิชาที่เรียนนักเรียนปรับตัวไม่ค่อยทัน ความรู้อัดแน่นมากไป มันก็กลายเป็นปัญหาที่เริ่มจะแก้ยากเข้าไปทุกที่
ระบบการศึกษา
เป็นการจัดองค์ประกอบต่างๆที่แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างการศึกษาในเรื่องระดับการศึกษา รูปแบบการศึกษา และประเภทของการศึกษา
วัตถุประสงค์
ระบบการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1) เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และเสมอภาค โดยปราศจากข้อจำกัดในเรื่องเพศ อายุ อาชีพ พื้นฐานการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ สังคม รวมทั้งความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา
2) เพื่อให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดช่วงอายุอย่างต่อเนื่องโดยใช้การศึกษาที่หลากหลายรูปแบบผสมผสานกันเพื่อให้การศึกษาช่วยพัฒนาคนได้เต็มที่
3) เพื่อให้การศึกษาทุกรูปแบบเชื่อมโยงต่อเนื่องสามารถเทียบโอนผลการเรียนได้ทั้งในระหว่างรูปแบบเดียวกันและต่างรูปแบบได้ เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสศึกษาและเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
4) เพื่อให้การจัดบริการการศึกษามีสาขาวิชา กิจกรรมและวิธีสอนที่หลากหลายวิธีให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนตามความต้องการ ตามความสนใจ ตามความถนัด
5) เพื่อให้การจัดการศึกษาผสมกลมกลืนไปกับการดำเนินชีวิตของประชาชนให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ปลูกฝังนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน ให้มีความต้องการเรียนรู้อยู่เป็นนิจ
6) เพื่อให้ทุกฝ่ายของสังคมมีส่วนรับผิดชอบในการจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาที่จะทำให้การจัดการศึกษาดำเนินไปอย่างกว้างขวางทั่วถึง มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ
ประวัติความเป็นมาของการศึกษาไทย
ความเป็นมาของการศึกษาไทยมีประวัติที่น่าสนใจแบ่งออกได้ 5 ช่วง ดังนี้
1. การศึกษาของไทยสมัยโบราณ (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)
- การศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1921)
- การศึกษาสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 1921)
- การศึกษาสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)
- การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2411)
2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2474)
3. การศึกษาของไทยสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญระยะแรก (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2491)
4. การศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2534)
5. การศึกษาสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน)
การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า ดังจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาไทย ดังนี้
- การศึกษาสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2411)
2. การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา (พ.ศ. 2412 - พ.ศ. 2474)
3. การศึกษาของไทยสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญระยะแรก (พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2491)
4. การศึกษาไทยสมัยพัฒนาการศึกษา (พ.ศ. 2492 - พ.ศ. 2534)
5. การศึกษาสมัยปัจจุบัน (พ.ศ. 2535 ปัจจุบัน)
การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการมาโดยตลอด อาจจะเป็นเพราะมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทำให้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ปัจจัยภายในเกิดจากความต้องการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญและทันสมัย ส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากกระแสความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ตลอดจนการติดต่อสื่อสารกันทำให้ประเทศไทยต้องปรับตัวให้ทันสมัย เพื่อความอยู่รอดและประเทศได้เกิดการพัฒนาให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทำให้การจัดการศึกษาของไทยมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความเจริญก้าวหน้าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองของชาติให้มั่นคงและเจริญก้าวหน้า ดังจะได้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการศึกษาไทย ดังนี้
1.การศึกษาของไทยสมัยโบราณ ( พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)
การศึกษาสมัยนี้เป็นการศึกษาแบบสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่มีมากแต่เดิม จำเป็นที่คนไทยในสมัยนั้นต้องขวนขวายหาความรู้จากผู้รู้ในชุมชนต่างๆ ซึ่งการศึกษาในสมัยนี้มีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา เช่น บ้านเป็นสถานที่อบรมกล่อมเกลาจิตใจของสมาชิกภายในบ้าน โดยมีพ่อและแม่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดอาชีพและอบรมลูกๆ วังเป็นสถานที่รวมเอานักปราชญ์สาขาต่างๆ มาเป็นขุนนางรับใช้เบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะงานช่างศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างพระราชวังและประกอบพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ส่วนวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระจะทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะผู้ชายไทยมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและบวชเรียน ในสังคมไทยจึงนิยมให้ผู้ชายบวชเรียนก่อนแต่งงานทำให้มีคุณธรรมและจิตใจมั่นคงสามารถครองเรือนได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ผู้ที่มาบวชเรียนมาแสวงหาความรู้เรื่องธรรมะในวัดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ที่เคยได้อบรมจาก ครอบครัวมา จะเห็นได้ว่าสถาบันทั้งสามนี้ล้วนแต่มี บทบาทในการศึกษาอบรมสำหรับคนไทยในสมัยนั้น ในการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
การศึกษาสมัยนี้เป็นการศึกษาแบบสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีที่มีมากแต่เดิม จำเป็นที่คนไทยในสมัยนั้นต้องขวนขวายหาความรู้จากผู้รู้ในชุมชนต่างๆ ซึ่งการศึกษาในสมัยนี้มีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษา เช่น บ้านเป็นสถานที่อบรมกล่อมเกลาจิตใจของสมาชิกภายในบ้าน โดยมีพ่อและแม่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดอาชีพและอบรมลูกๆ วังเป็นสถานที่รวมเอานักปราชญ์สาขาต่างๆ มาเป็นขุนนางรับใช้เบื้องพระยุคลบาท โดยเฉพาะงานช่างศิลปหัตถกรรมเพื่อสร้างพระราชวังและประกอบพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ส่วนวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระจะทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนธรรมะแก่พุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะผู้ชายไทยมีโอกาสได้ศึกษาธรรมะและบวชเรียน ในสังคมไทยจึงนิยมให้ผู้ชายบวชเรียนก่อนแต่งงานทำให้มีคุณธรรมและจิตใจมั่นคงสามารถครองเรือนได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ผู้ที่มาบวชเรียนมาแสวงหาความรู้เรื่องธรรมะในวัดแล้ว ยังสามารถแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดความรู้ในด้านศิลปวิทยาการต่าง ๆ ที่เคยได้อบรมจาก ครอบครัวมา จะเห็นได้ว่าสถาบันทั้งสามนี้ล้วนแต่มี บทบาทในการศึกษาอบรมสำหรับคนไทยในสมัยนั้น ในการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
1.1 การศึกษาในสมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 พ.ศ. 1921) มีลักษณะการจัด ดังนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
อาณาจักรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น มวย กระบี่ กระบองและอาวุธต่างๆ ตลอดจนวิธีการบังคับม้า ช้าง ตำราพิชัยยุทธ์ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพนายกอง และส่วนที่สอง พลเรือน เป็นการจัดการศึกษาให้แก่พลเรือนผู้ชายเรียนคัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ เวชกรรม ฯลฯ ส่วนพลเรือนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี การปัก การย้อม การเย็บ การถักทอ นอกจากนั้นมีการอบรมบ่มนิสัย กิริยามารยาท การทำอาหารการกินเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีต่อไป
ฝ่ายศาสนาจักร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัย จึงเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นพระพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์ สมัยนี้พ่อขุนรามคำแหงได้นำช่างชาวจีนเข้ามาเผยแพร่การทำถ้วยชามสังคโลกให้แก่คนไทย และหลังจากที่ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยแล้วงานด้านอักษรศาสตร์เจริญขึ้น มีการสอนภาษาไทยในพระบรมมหาราชวัง มีวรรณคดีที่สำคัญ คือ หนังสือไตรภูมิพระร่วงและตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
1.2 การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)
กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอันยาวนาน 417 ปี ซึ่งมีความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเกิดจากมีชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาเพื่อตั้งหลักแหล่งหากินในดินแดนไทย เช่น จีน มอญ ญวน เขมร อินเดียและอาหรับ และตั้งแต่รัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ชาติตะวันตกได้เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาเป็นชาติแรก และมีชนชาติอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น มีผลให้การศึกษาไทยมีความเจริญขึ้น โดยเฉพาะใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย
อาณาจักรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น มวย กระบี่ กระบองและอาวุธต่างๆ ตลอดจนวิธีการบังคับม้า ช้าง ตำราพิชัยยุทธ์ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพนายกอง และส่วนที่สอง พลเรือน เป็นการจัดการศึกษาให้แก่พลเรือนผู้ชายเรียนคัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์ เวชกรรม ฯลฯ ส่วนพลเรือนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี การปัก การย้อม การเย็บ การถักทอ นอกจากนั้นมีการอบรมบ่มนิสัย กิริยามารยาท การทำอาหารการกินเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีต่อไป
ฝ่ายศาสนาจักร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัย จึงเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นพระพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์ สมัยนี้พ่อขุนรามคำแหงได้นำช่างชาวจีนเข้ามาเผยแพร่การทำถ้วยชามสังคโลกให้แก่คนไทย และหลังจากที่ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยแล้วงานด้านอักษรศาสตร์เจริญขึ้น มีการสอนภาษาไทยในพระบรมมหาราชวัง มีวรรณคดีที่สำคัญ คือ หนังสือไตรภูมิพระร่วงและตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
1.2 การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)
กรุงศรีอยุธยาซึ่งเป็นราชธานีอันยาวนาน 417 ปี ซึ่งมีความเจริญทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนับเกิดจากมีชนชาติต่าง ๆ ในเอเชียเข้ามาติดต่อค้าขายและเข้ามาเพื่อตั้งหลักแหล่งหากินในดินแดนไทย เช่น จีน มอญ ญวน เขมร อินเดียและอาหรับ และตั้งแต่รัชสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 ชาติตะวันตกได้เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย เช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาเป็นชาติแรก และมีชนชาติอื่น ๆ ติดตามมา เช่น ฮอลันดา ฝรั่งเศส อังกฤษ เป็นต้น มีผลให้การศึกษาไทยมีความเจริญขึ้น โดยเฉพาะใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
1.3 การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(พ.ศ. 2311 - พ.ศ. 2411)
- สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นระยะเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่าง ๆ ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า เน้นการทำนุบำรุงตำราทางศาสนา ศิลปะและวรรณคดี
- สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี มีการแต่งรามเกียรติได้เค้าโครงเรื่องมาจากอินเดียเรื่อง รามายณะ ศิลปะ กฎหมาย เช่น กฎหมายตรา3ดวง และหลักธรรมทางศาสนา มีการสังคายนาพระไตรปิฎก
- สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เริ่มมีชาวยุโรปเช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาติดต่อทางการค้ากับไทยใหม่ หลังจากเลิกราไปเมื่อประมาณปลายสมัยอยุธยา และชาติอื่น ๆ ตามเข้ามาอีกมากมาย ได้ส่งเสริมการศึกษาทั้งวิชาสามัญ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ จริยศาสตร์ มีการตั้งโรงทานหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ให้การศึกษา
- สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนาเป็น
- สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงฟื้นฟูการศึกษาด้านอักษรศาสตร์ วรรณคดี มีการแต่งรามเกียรติได้เค้าโครงเรื่องมาจากอินเดียเรื่อง รามายณะ ศิลปะ กฎหมาย เช่น กฎหมายตรา3ดวง และหลักธรรมทางศาสนา มีการสังคายนาพระไตรปิฎก
- สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เริ่มมีชาวยุโรปเช่น ชาติโปรตุเกสเข้ามาติดต่อทางการค้ากับไทยใหม่ หลังจากเลิกราไปเมื่อประมาณปลายสมัยอยุธยา และชาติอื่น ๆ ตามเข้ามาอีกมากมาย ได้ส่งเสริมการศึกษาทั้งวิชาสามัญ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ จริยศาสตร์ มีการตั้งโรงทานหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ให้การศึกษา
- สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงส่งเสริมการศึกษาด้านศาสนาเป็น
พิเศษ มีการจารึกวิชาความรู้สามัญและวิชาชีพลงในแผ่นศิลาประดับไว้ตามระเบียงวัดพระเชตุพนจนมีผู้กล่าวว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย มีการใช้หนังสือไทยชื่อ ประถม ก กา และประถมมาลา
- สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในสมัยนี้ชาวยุโรป และอเมริกันเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและสอนศาสนา มีการนำวิทยาการสมัยใหม่ ๆ เข้ามาปรับใช้ในเมืองไทยเพิ่มขึ้น และพระองค์ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงทรงจ้างนางแอนนา เอช เลียวโนเวนส์ มาสอนสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อ พ.ศ. 2405 จนรอบรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี
- สมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาอย่างมากมาย เนื่องจากเหตุผลทางการเมืองเห็นได้จากนโยบายการจัดการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีว่า
1. จัดการศึกษาเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการ
2. จัดการศึกษาเพื่อผลิตคนให้มีความรู้ความสามารถแบบตะวันตก
3. เพื่อเปลี่ยนแปลงฐานของคนไทย
การที่พระองค์ทรงมีนโยบายจัดการศึกษา พัฒนาคนไทยให้มีความรู้แบบคนตะวันตก เพื่อเข้ารับราชการ ก็เพื่อไม่ให้ชาวตะวันตกดูแคลนคนไทยและประเทศไทย อีกทั้งสะดวกในการติดต่อกับชาวตะวันตก สามารถที่จะรู้ความคิดความอ่าน และรู้เท่าทันชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของไทยโดยส่วนรวม มิให้เหมือนกับนานาประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกสมัยนี้มีการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนอย่างจริงจังได้ตั้งกระทรวงธรรมการเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษามีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติในรูปแบบโครงการการศึกษาปี พ.ศ. 2441, 2445, และ 2456
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494 และแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2503 ซึ่งแผนการศึกษาดังกล่าวระบุแนวทางการจัดการศึกษา ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษาแต่ละระดับโดยส่วนรวม กำหนดโครงสร้างของการศึกษา คือ กำหนดระดับการศึกษา กำหนดรายอายุผู้ที่จะเข้าเรียนในระดับต่างๆ กำหนดชั้นเรียนและกำหนดความเกี่ยวเนื่องระหว่างระดับการศึกษา โดยทั่วๆ ไปมีระดับการศึกษาภาคบังคับหรือระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือที่เรียกว่าระดับ 2 และระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาระดับที่ 3 หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีที่ใช้ในการเรียนการสอนของไทยยังนำเอาความรู้วิชาการ การจัดการเรียนการสอนตลอดถึงรูปแบบของการจัดการศึกษามาจากประเทศตะวันตกจวบจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการปรับปรุงหลักสูตรกี่ครั้งก็ตาม
1. จัดการศึกษาเพื่อผลิตคนเข้ารับราชการ
2. จัดการศึกษาเพื่อผลิตคนให้มีความรู้ความสามารถแบบตะวันตก
3. เพื่อเปลี่ยนแปลงฐานของคนไทย
การที่พระองค์ทรงมีนโยบายจัดการศึกษา พัฒนาคนไทยให้มีความรู้แบบคนตะวันตก เพื่อเข้ารับราชการ ก็เพื่อไม่ให้ชาวตะวันตกดูแคลนคนไทยและประเทศไทย อีกทั้งสะดวกในการติดต่อกับชาวตะวันตก สามารถที่จะรู้ความคิดความอ่าน และรู้เท่าทันชาวตะวันตก เพื่อความอยู่รอดปลอดภัยของไทยโดยส่วนรวม มิให้เหมือนกับนานาประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องเป็นเมืองขึ้นของประเทศตะวันตกสมัยนี้มีการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนอย่างจริงจังได้ตั้งกระทรวงธรรมการเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบด้านการศึกษามีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติในรูปแบบโครงการการศึกษาปี พ.ศ. 2441, 2445, และ 2456
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองได้มีแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2494 และแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2503 ซึ่งแผนการศึกษาดังกล่าวระบุแนวทางการจัดการศึกษา ปรัชญาและจุดมุ่งหมายของการศึกษาแต่ละระดับโดยส่วนรวม กำหนดโครงสร้างของการศึกษา คือ กำหนดระดับการศึกษา กำหนดรายอายุผู้ที่จะเข้าเรียนในระดับต่างๆ กำหนดชั้นเรียนและกำหนดความเกี่ยวเนื่องระหว่างระดับการศึกษา โดยทั่วๆ ไปมีระดับการศึกษาภาคบังคับหรือระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หรือที่เรียกว่าระดับ 2 และระดับอุดมศึกษาเป็นการศึกษาระดับที่ 3 หลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ทฤษฎีที่ใช้ในการเรียนการสอนของไทยยังนำเอาความรู้วิชาการ การจัดการเรียนการสอนตลอดถึงรูปแบบของการจัดการศึกษามาจากประเทศตะวันตกจวบจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีการปรับปรุงหลักสูตรกี่ครั้งก็ตาม
สภาพการศึกษาไทย
สภาพการจัดการศึกษาไทย มีระบบการบริหารเป็นระบบราชการที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็นการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ
1. บริหารส่วนกลาง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่
1) สำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2) ทบวงมหาวิทยาลัย กำลับดูแลการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั่งของรัฐและของเอกชน
3) กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับก่อนวัยเรียน ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกหัดครู นอกจากนั้นยังรับผิดชอบงานด้านพลศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีหน่วยงานระดับกรม 14 หน่วยงาน และมีเขตการศึกษา 12 เขต
4) กระทรวงมหาไทย มีองค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ได้แก่ เทศบาลเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร
สภาพการจัดการศึกษาไทย มีระบบการบริหารเป็นระบบราชการที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งออกเป็นการบริหารส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น โดยมีหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ
1. บริหารส่วนกลาง หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่
1) สำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2) ทบวงมหาวิทยาลัย กำลับดูแลการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั่งของรัฐและของเอกชน
3) กระทรวงศึกษาธิการ รับผิดชอบการจัดการศึกษาระดับก่อนวัยเรียน ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน การฝึกหัดครู นอกจากนั้นยังรับผิดชอบงานด้านพลศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งมีหน่วยงานระดับกรม 14 หน่วยงาน และมีเขตการศึกษา 12 เขต
4) กระทรวงมหาไทย มีองค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ได้แก่ เทศบาลเมืองพัทยา และกรุงเทพมหานคร
5) กระทรวงอื่น ๆ จัดการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยจัดการศึกษาใน 2 รูปแบบ
คุณภาพของเด็กไทย
ผลสำรวจสุขภาพอนามัยของเด็กโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2551-2552 โดยสำรวจเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มปฐมวัยอายุ 1-5 ปี จำนวน 3,029 คนและกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 5,999 คน จาก 20 จังหวัด
ผลการสำรวจด้านเชาว์ปัญญา พบว่า ในช่วง 14 ปีมานี้ ค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิวของเด็กไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศอื่น โดยเด็กไทยอายุ 6-14 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากับ 91.4 ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับไอคิวปัญญาต่ำลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น มีเด็กถึงร้อยละ 50 ที่มีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติคือ 80 มีเพียงร้อยละ 11 ที่มีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาสูงกว่าปกติ
แม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ
ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลง มาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่าเด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อเพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทุ่มเวลาหาเงิน ทำงาน และใช้เงิน ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก เช่น ซื้อทีวี ซื้อเครื่องเล่นเกมคอมพิวเตอร์ให้ลูกเล่นอยู่บ้าน เพราะคิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าที่จะให้ลูกไปเล่นนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการ
ปัญหาจากครูผู้สอน ทั้งในเรื่องเงินเดือน และการฝึกฝนเรียนรู้ของครูให้เท่าทันศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะไปสอนให้ทันกับเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ โดยที่ผ่านมาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่ามีสถาบันการศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองผลคิดเป็นร้อยละ 19.59 โดยในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาสำคัญมาจากคุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญ
ดังนั้นหากมองย้อนถึงปัญหาทางการศึกษาของเด็กไทย และการกระตุ้นเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือจึงอาจต้องมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคคลากรให้มากยิ่งขึ้น เพราะการที่บุคคลากรด้านครูยังขาดการพัฒนาทางความรู้และการศึกษา ก็จะส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาทางการเรียนการสอน และทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในที่สุด และท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลให้บัณฑิตที่ผลิตออกไปนั้น ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานในสาขาที่ตลาดแรงงานในประเทศต้องการ และขาดแคลนแรงงานในที่สุด
ผลสำรวจสุขภาพอนามัยของเด็กโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2551-2552 โดยสำรวจเด็ก 2 กลุ่ม คือกลุ่มปฐมวัยอายุ 1-5 ปี จำนวน 3,029 คนและกลุ่มเด็กอายุ 6-14 ปี จำนวน 5,999 คน จาก 20 จังหวัด
ผลการสำรวจด้านเชาว์ปัญญา พบว่า ในช่วง 14 ปีมานี้ ค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาหรือไอคิวของเด็กไทยไม่ได้เพิ่มขึ้นเหมือนประเทศอื่น โดยเด็กไทยอายุ 6-14 ปี มีระดับเชาว์ปัญญาเท่ากับ 91.4 ซึ่งค่าเฉลี่ยระดับไอคิวปัญญาต่ำลงเมื่อเด็กอายุมากขึ้น มีเด็กถึงร้อยละ 50 ที่มีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติคือ 80 มีเพียงร้อยละ 11 ที่มีค่าเฉลี่ยระดับเชาว์ปัญญาสูงกว่าปกติ
แม้ประเทศไทยจะมีการทุ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโครงการเรียนฟรี 15 ปี รวมถึงโครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตรครู 5 ปี) การประเมินวิทยฐานะ ซึ่งทำให้ครูที่มีผลงานดีได้รับผลตอบแทนสูงขึ้น แต่เหตุใดปัญหาการศึกษาของเด็กไทยยังมีการประเมินว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ซึ่งปัญหาด้านการเรียนของเด็กไทยในปัจจุบันอาจวิเคราะห์ได้ว่ามาจากหลายประการ
ปัจจัยหนึ่ง ที่ทำให้เด็กมีผลการเรียนอ่อนลง มาจากความสนใจของตัวเด็กเองที่พบว่าเด็กให้ความสนใจเรื่องของเกม และสื่อเพื่อความบันเทิงมากขึ้น ทำให้ความสนใจในการศึกษาหาความรู้ลดน้อยลง ทั้งนี้ เนื่องมาจากสภาพสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทุ่มเวลาหาเงิน ทำงาน และใช้เงิน ใช้เทคโนโลยีเลี้ยงดูเด็ก เช่น ซื้อทีวี ซื้อเครื่องเล่นเกมคอมพิวเตอร์ให้ลูกเล่นอยู่บ้าน เพราะคิดว่าดีกว่า ปลอดภัยกว่าที่จะให้ลูกไปเล่นนอกบ้าน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียต่อพัฒนาการ
ปัญหาจากครูผู้สอน ทั้งในเรื่องเงินเดือน และการฝึกฝนเรียนรู้ของครูให้เท่าทันศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะไปสอนให้ทันกับเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ โดยที่ผ่านมาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่ามีสถาบันการศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองผลคิดเป็นร้อยละ 19.59 โดยในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาสำคัญมาจากคุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญ
ดังนั้นหากมองย้อนถึงปัญหาทางการศึกษาของเด็กไทย และการกระตุ้นเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือจึงอาจต้องมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคคลากรให้มากยิ่งขึ้น เพราะการที่บุคคลากรด้านครูยังขาดการพัฒนาทางความรู้และการศึกษา ก็จะส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาทางการเรียนการสอน และทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในที่สุด และท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลให้บัณฑิตที่ผลิตออกไปนั้น ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานในสาขาที่ตลาดแรงงานในประเทศต้องการ และขาดแคลนแรงงานในที่สุด
สรุป
ระบบการศึกษาจัดทำขึ้นเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้เรียนหนังสืออย่างทั่วถึง ด้วยเสมอภาค เพราะการศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นต่อตัวเราและประเทศชาติ การจัดการศึกษาของประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยความเชื่อที่ว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า แต่ในปัจจุบันการศึกษาของเด็กไทยที่ผ่านมา มีความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางการศึกษาของเด็กและเยาวชนเพื่อให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ เนื่องจากในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยในแต่ละปี ผลที่ออกมามักอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐาน นักเรียนไทยสอบระดับชาติได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่า 50% ในทุกวิชา รวมทั้งต่ำลงจากปีก่อนๆ ด้วย เป็นปัญหาใหญ่ที่จะทำให้ประเทศไทยถูกประเทศอื่นแซงหน้าไปได้มากกว่านี้อีก การใช้งบประมาณการศึกษาเพิ่มไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอย่างได้ผลเสมอไป ประเทศไทยนั้นใช้งบเพื่อการศึกษาถึง 20-25% ของงบทั้งประเทศ สูงกว่าจีนและเกาหลีใต้ แต่เด็กไทยได้เรียนถึงชั้นมัธยมเป็นสัดส่วนต่อประชากรน้อยกว่าทั้ง 2 ประเทศนี้ และคุณภาพของนักเรียนโดยเฉลี่ยก็ต่ำกว่า ปัญหาเด็กไทยทั้งไม่เก่ง ไม่มีความสุข จริยธรรมแย่ลง เป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับระบบการจัดการศึกษาแบบแพ้คัดออกเพื่อคัดเอาคนส่วนน้อยไปรับใช้ เน้นการแข่งขันแบบตัวใครมัน เราจะต้องวิเคราะห์และหาทางแก้ไขปัญหาการศึกษาทั้งระบบอย่างจริงจัง ก่อนที่ประชากรไทยรุ่นต่อไปจะมีคุณภาพลดลง และประเทศไทยยิ่งตกต่ำไปมากกว่านี้
ข้อเสนอแนะ
หากเราต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีก จะต้องเริ่มเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานของวิธีคิดและจิตสำนึก ที่ทำให้การใช้ชีวิตและการจัดความสัมพันธ์กับสังคมและโลกแวดล้อมไม่เป็นไปอย่างฉาบฉวย การเกิดขึ้นของทัศนะต่อชีวิตและจิตสำนึกใหม่ที่เข้าใจความจริงของโลกภายนอกและโลกแห่งชีวิตด้านในอย่างลุ่มลึกนี้ เป็นผลจากการมีประสบการณ์ตรงของผู้เรียนที่ต้องเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในความจริงของชีวิต ไม่ใช่ยืนเกาะรั้วมองดูชีวิตอยู่ห่างๆ ทั้งยังต้องมีการใคร่ครวญตรึกตรองอย่างลึกซึ้งต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตจนเกิดการประจักษ์แจ้งในใจตนเอง ไม่ใช่จำมาจากสิ่งที่คนอื่นคิดไว้